เมนู

บรรดาโลกทั้ง 3 นั้น โลกในอาคตสถานว่า โลก 1 คือ สรรพสัตว์
ดำรงอยู่ได้เพราะอาหาร1 ดังนี้ พึงทราบว่า เป็นสังขารโลก. โลกในอาคต
สถานว่า โลกเที่ยง หรือว่า โลกไม่เที่ยง 2 ดังนี้เป็นต้น พึงทราบว่า เป็น
สัตว์โลก. โลกในอาคตสถานว่า
พระจันทร์และอาทิตย์ รุ่งโรจน์ ย่อม
เวียนส่องทิศทั้งหลาย ให้สว่างไสว ตลอด
ที่มีประมาณเพียงใด, โลกมีประการตั้งพัน
ก็ย่อมสว่างไสว ตลอดที่มีประมาณเพียงเน้น.
อำนาจของท่าน ย่อมเป็นไปในโลกตั้งพัน
จักรวาลนี้ 3 ดังนี้

พึงทราบว่า เป็นโอกาสโลก.

[พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้แจ้งโลกทั้ง 3]


พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงรู้แจ้งโลกแม้ทั้ง 3 นั้น โดยประการ
ทั้งปวง. จริงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ได้ทรงรู้แจ้งแม้สังขาร
โลกนี้ โดยประการทั้งปวง คือ:-
โลก 1 คือสรรพสัตว์ ดำรงอยู่ได้เพราะอาหาร, โลก 2 คือนาม 1
รูป 1, โลก 3 คือเวทนา 3, โลก 4 คืออาหาร 4, โลก 5, คืออุปทานขันธ์ 5,
โลก 6 คืออายตนะภายใน 6, โลก 7 คือวิญญาณฐิติ 7, โลก 8 คือโลก
ธรรม 8, โลก 9 คือสัตตาวาส 9, โลก 10 คืออายตนะ 10, โลก 12
คืออายตนะ 12, โลก 18 คือธาตุ 18. 4
1. ข. ปฏิ. 31/179. 2. ม.ม. 13/143 3. ม.ม. 12/594 4. ข. ปฏิ. 31/179.

อนึ่ง เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงทราบอาสยะ (คือ
ฉันทะเป็นที่มานอน) อนุสัย (คือกิเลสที่ตามนอนอยู่ในสันดาน) จริต (คือ
ความประพฤติ) อธิมุตติ (คืออัธยาศัย) ของเหล่าสัตว์แม้ทั้งปวง, (และ)
ย่อมทรงทราบสัตว์ทั้งหลาย ผู้มีธุลีคือกิเลสในปัญญาจักษุน้อย ผู้มีธุลีคือกิเลส
ในปัญญาจักษุมาก ผู้มีอินทรีย์กล้า ผู้มีอินทรีย์อ่อน ผู้มีอาการดี ผู้มีอาการชั่ว
ผู้จะพึงให้รู้ได้ง่าย ผู้จะพึงให้รู้ได้ยาก ผู้ควร (จะตรัสรู้) ผู้ไม่ควร (จะตรัสรู้)
เพราะฉะนั้น แม้สัตว์โลกอันพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงรู้แจ้งแล้ว
โดยประการทั้งปวง. เหมือนอย่างว่า พระองค์ทรงรู้แจ้งสัตว์โลก ฉันใด,
แม้โอกาสโลก (โลกคือแผ่นดิน) ก็ทรงรู้แจ้ง คือได้ทรงทราบ ได้แก่ทรงแทง
ตลอดแล้ว ซึ่งโลกธาตุอันไม่มีที่สิ้นสุด ด้วยพระพุทธญาณอันไม่มีที่สุด
ตลอดอนันตจักรวาล อย่างนี้ คือ จักรวาลหนึ่ง ว่าโดยส่วนยาวและส่วนกว้าง
มีประมาณล้านสองแสนสามพันสี่ร้อยสิบโยชน์, ท่านกล่าวประมาณไว้โดย
รอบ,
จักรวาลมีปริมณฑลทั้งหมด สาม
ล้านหกแสนหนึ่งหมื่นสามร้อยห้าสิบโยชน์,
แผ่นดินนี้ในจักรวาลนั้น บัณฑิตกล่าวไว้
โดยความหนามีประมาณสองแสนสี่หมื่น
โยชน์.
น้ำสำหรับรองแผ่นดิน ซึ่งมีประมาณ
สี่แสนแปดหมื่น โยชน์นั้นนั่นแลไว้ โดย
ความหนาก็มีประมาณเท่านั้น ตั้งอยู่บนลม,

ลมสำหรับธารน้ำแม้นั้นไว้ พุ่งขึ้นจดท้องฟ้า
สูงเก้าแสนหกหมื่นโยชน์, ความตั้งอยู่แห่ง
โลกเป็นดังนี้.
ก็ในจักรวาลนี้ ที่ตั้งอยู่แล้วอย่างนี้
มีภูเขาสิเนรุ เยี่ยมกว่าบรรดาภูเขาทั้งหลาย
หยั่งลงในห้วงมหรรณพ ถึงแปดหมื่นสี่พัน
โยชน์, สูงขึ้นไป (เบื้องบน) ก็มีประมาณ
เท่านั้นเหมือนกัน.
มหาบรรพตใหญ่ทั้ง 7 เหล่านี้ คือ
เขายุคันธร 1 เขาอิสินธร 1 เขากรวิกะ 1
เขาสุทัสสนะ 1 เขาเนมินธร 1 เขาวินัตต-
กะ 1 เขาอัสสกัณณะ 1 เป็นของทิพย์
วิจิตรด้วยรัตนะต่าง ๆ หยั่งลง (ในห้วง
มหรรณพ) และสูงขึ้นไป (เบื้องบน) ตาม
ลำดับโดยประมาณกึ่งหนึ่ง ๆ จากประมาณ
แห่งสิเนรุที่กล่าวแล้วทั้งเบื้องล่างและเบื้องบน
นั้น เป็นสถานที่อยู่ของท้าวมหาราช
(ทั้ง 4) มีเทวดาและยักษ์อาศัยอยู่ ตั้งเรียง
รายอยู่โดยราบภูเขาสิเนรุ ด้วยอำนาจเป็น
เครื่องล้อม.

หิมวันตบรรพต สูงห้าร้อยโยชน์
โดยส่วนยาวและกว้างสามพันโยชน์ ประดับ
ด้วยยอดแปดหมื่นสี่พันยอด.
ชมพูทวีปท่านประกาศแล้ว ด้วย
อานุภาพแห่งต้นชมพูใด ต้นชมพูที่ชื่อว่า
นคะ นั้นวัดโดยรอบลำต้นประมาณ 15
โยชน์* ความยาวของลำต้นและกิ่งประมาณ
50 โยชน์ ความกว้างโดยรอบประมาณ 100
โยชน์ และสูงขึ้นไป (เบื้อบน) ก็มีประมาณ
เท่านั้นนั่นแล.
จักรวาลบรรพต หยั่งลงในห้วง
มหรรณพสองหมื่นแปดพันโยชน์ สูงขึ้นไป
(เบื้องบนก็มีประมาณเท่านั้นเหมือนกัน) จักร-
วาลบรรพตนี้ตั้งล้อมรอบโลกธาตุทั้งหมดนั้น
อยู่.

[ขนาดพระจันทร์เป็นต้นประมาณ 49 โยชน์]


ในโลกธาตุนั้น ดวงจันทร์ (วัดโดยตรงโดยส่วนยาวส่วนกว้างและ
ส่วนสูง) 59 โยชน์ ดวงอาทิตย์ประมาณ 50 โยชน์ ภพดาวดึงส์ประมาณ
หมื่นโยชน์ ภพอสูร อวีจิมหานรก และชมพูทวีปก็มีประมาณเท่านั้น อมร-
โคยานทวีป ประมาณ 7 พันโยชน์ ปุพพวิเทหทวีป ก็มีประมาณเท่านั้น
อุตรกุรุทวีป ประมาณ 8 พันโยชน์ ก็แล ทวีปใหญ่ ๆ ในโลกธาตุนี้ แต่ละ
* ฏีกาสารรัตถทีปนี แก้เป็น ปณฺณรสโยชนปฺปมาณกฺขนฺธปริกฺเขปา 1/401.